ฝนหลวง คือ ฝนเทียมสูตรในหลวง ร.9
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษกู้ภัยแล้ง พ.ศ. 2542 อย่างสัมฤทธิ์ผล นอกจากจะโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูทบทวนประสบการณ์และเทคนิคพระราชทานที่เคยปฏิบัติการได้ผลมาแล้วในอดีตมาใช้ปฏิบัติการในครั้งนี้แล้ว ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและเทคนิคควบคู่กันไปด้วย ซึ่งทรงสามารถพัฒนากรรมวิธีการทำฝนหลวงให้ก้าวหน้าขึ้นอีกระดับหนึ่ง คือ เป็นการปฏิบัติการฝนหลวงโดยการดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝนโดยเทคโนโลยีฝนหลวงจากทั้งเมฆอุ่นและเมฆเย็นพร้อมกัน (เดิมเป็นกิจกรรมทำฝนหลวงจากเมฆอุ่นเพียงอย่างเดียว) ด้วยพระปรีชาสามารถทรงพัฒนาเทคนิคการโจมตีเมฆอุ่นและเมฆเย็นพร้อมกันในกลุ่มเมฆเดียวกัน ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้เรียกเทคนิคการโจมตีที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเป็นวัตกรรมใหม่ล่าสุดว่า “SUPER SANDWICH TECHNIC” ทรงสรุปขั้นตอนกรรมวิธีโดยทรงประดิษฐ์ขึ้นเป็นแผนภาพการ์ตูนโดยคอมพิวเตอร์ด้วยพระองค์เอง พระราชทานให้ใช้เป็น ตำราฝนหลวง เพื่อให้เป็นแบบอย่างใช้ในการปฏิบัติการฝนหลวงให้เป็นไปในทางเดียวกัน แผนภาพฝีพระหัตถ์ดังกล่าวประมวลความรู้ทางวิชาการเทคนิคและกระบวนการขั้นตอนกรรมวิธีในการปฏิบัติการฝนหลวงอย่างครบถ้วนทั้งเทคโนโลยีฝนหลวงไว้ในหนึ่งหน้ากระดาษได้อย่างสมบูรณ์ ง่ายต่อความเข้าใจและการถือปฏิบัติ
กระบวนการดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝนโดยเทคโนโลยีฝนหลวงเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาพระราชทานให้ใช้ปฏิบัติการในประเทศไทยเป็นประเทศแรก ยังไม่มีประเทศใดในโลกเคยปฏิบัติด้วยเทคโนโลยีนี้มาก่อนอย่างแน่นอน
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงประดิษฐ์ภาพ “ตำราฝนหลวง” ด้วยคอมพิวเตอร์ แสดงขั้นตอนและกรรมวิธีการดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝนจากเมฆอุ่นและเมฆเย็นและพระราชทานแก่นักวิชาการฝนหลวงถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2542
แหล่งข้อมูล :
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร https://www.royalrain.go.th
ใต้ปีกฝนหลวง https://www.youtube.com/@drraa_pr
#ฝนหลวง #วันพระบิดาแห่งฝนหลวง
“ที่มาของโครงการฝนหลวง”
ร.9 ได้มีพระราชดําริ “โครงการฝนหลวง” และกําหนดเป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง”
รัชกาลที่ 9 ทรงเกิดแนวคิดแก้ปัญหาทุกข์ร้อนของราษฎร ในการนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาช่วยให้กิดฝนโดยการรวมเมฆที่ กระจายอยู่บนท้องฟ้าให้เกิดเป็นฝน อันเป็นต้นกําเนิด “โครงการพระราชดําริ ฝนหลวง” และ “การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการทำฝนหลวง” จน ประสบความสําเร็จ เพื่อแสดงความรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อปวงชนขาวไทย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติกําหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง”
ประโยชน์ของการทําฝนหลวง
1. เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนนำในการเกษตรในช่วงที่เกิดภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงยาวนานเพื่อเพิ่มปริมาณนำให้กับพื้นที่ลุ่มรับนํ้าของแม่นำสายต่างๆ ที่มีปริมาณนำต้นทุนลดน้อยลง
2. เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนนำเพื่อการอุปโภคบริโภค เสริมสร้างเส้นทางคมนาคมทางนำ เป็นการเพิ่มปริมาณนำโดยเฉพาะในบริเวณแม่นำที่ตื้นเขินให้สามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมได้
3. เพื่อป้องกันและบําบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม “ฝนหลวง” ได้บรรเทาภาวะแวดล้อมเป็นพิษอันเกิดจากการระบายนําเสียและขยะมูลฝอย ลงสู่แม่นำเจ้าพระยาปริมาณนำจากฝนหลวงจะทำให้ภาวะมลพิษจากนำเสียจือจางลง
4. เพื่อเพิ่มปริมาณนำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิต์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ฝนหลวงในอนาคตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน แนวความคิดให้ทําการศึกษาวิจัยพัฒนาฝนหลวงหลายประการ คือสร้างจรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมีจากพื้นดินเข้าสู่เมฆหรือยิงจากเครื่องบิน การใช้เครื่องพ่นสารเคมีอัดแรงกําลังสูงจากยอดเขาสู่ฐานของก้อนเมฆโดยตรงเพื่อช่วยให้เมฆที่ลอยปกคลุมอยู่เหนือยอดเขาสามารถรวมตัวหนาแน่นจนเกิดฝนตกลงสู่บริเวณภูเขาหรือพื้นที่ใต้ลมของภูเขา
ทั้งนี้จากประโยชน์นานัปการของโครงการฝนหลวงอันเกิดจากพระปรีซาสามารถและสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ห้ว ที่ทรงคํานีงถึงประโยชน์ทุกข์สุขของราษฎรชาวไทยเสมอมา การขนานนามพระองค์ว่า พระบิดาแห่งฝนหลวง จึงเป็นการแสดง ความรำลีกในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ที่จะคงอยู่ในใจของปวงชนชาวไทยตลอดไป ตราบนานเท่านาน
แหล่งข้อมูล :
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร https://www.royalrain.go.th
ใต้ปีกฝนหลวง https://www.youtube.com/@drraa_pr
#ฝนหลวง #วันพระบิดาแห่งฝนหลวง
“ประโยชน์ของฝนหลวงต่อ การเกษตรไทย”
ประโยชน์ของฝนหลวงที่เข้ามาบำบัดทุกข์บำรุงสุขมีส่วนช่วยเหลือการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยดังต่อไปนี้
– ด้านการเกษตร มีการร้องขอฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงที่เกิดภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงยาวนานซึ่งมีผลกระทบต่อแหล่งผลิตทางการเกษตรที่กำลังให้ผลผลิต เช่น แถบจังหวัดจันทบุรี หรือเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งยังสามารถเพิ่มปริมาณน้ำให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำของแม่น้ำสายต่างๆ ที่มีปริมาณน้ำต้นทุนลดน้อยลง เช่น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน เป็นต้น
– เพื่อการอุปโภค บริโภค การขาดแคลนน้ำกิน น้ำใช้ มีความรุนแรงมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากภูมิภาคนี้เป็นดินร่วนปนทรายไม่สามารถอุ้มซับน้ำได้ จึงไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ดีเท่าที่ควร
– ช่วยในการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ ภายใต้พื้นดินของภาคอีสานมีแหล่งหินเกลือเป็นจำนวนมากและครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ดังนั้นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กและขนาดกลางที่ไม่มีทางระบายออก หากมีปริมาณน้ำเหลือน้อย น้ำจะกร่อยและเค็มได้
– เสริมสร้างเส้นทางคมนาคมทางน้ำ เช่น ทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบางตนในปัจจุบันการทำฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้กับบริเวณดังกล่าวจึงนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะการขนส่งสินค้าทางน้ำเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าทางอื่น และการจราจรทางบกนับวันจะมีปัญหารุนแรงมากขึ้นทุกขณะ
– ป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม หากน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลดน้อยลงเมื่อใด น้ำเค็มจากทะเลอ่าวไทยก็จะไหลหนุนเนื่องเข้าไปแทนที่ทำให้เกิดน้ำกร่อยขึ้น และเกิดความเสียหายแก่เกษตรกรเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นที่ต้องมีการปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพล เพื่อผลักดันน้ำเค็มมิให้หนุนเข้ามาทำความเสียหายต่อการอุปโภค บริโภคหรือเกษตรกรรม รวมทั้งสิ่งที่เราอาจไม่คาดคิดมาก่อนว่า ฝนหลวง ได้บรรเทาภาวะสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษอันเกิดจากการระบายน้ำเสียทิ้งลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและขยะมูลฝอยที่ผู้คนทิ้งลงในสายน้ำกันอย่างมากมายนั้น ปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะช่วยผลักดันออกสู่ท้องทะเล ทำให้ภาวะมลพิษจากน้ำเสียเจือจางลง ซึ่งสังเกตเห็นได้ชัดเจนจากขยะมูลฝอยและกระแสน้ำเสียต่างสีในบริเวณปากน้ำจนถึงเกาะล้านเมืองพัทยา
– เพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าบ้านเมืองของเราประสบปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า เนื่องจากมีความต้องการใช้ไฟฟ้าในปริมาณสูงมากจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เมื่อเกิดภาวะวิกฤติระดับน้ำเหนือเขื่อนมีระดับต่ำมากจนไม่เพียงพอต่อการใช้พลังงานน้ำ ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าส่งให้ผู้ใช้ได้อย่างทั่วถึงจนถึงขนาดเกรงกันว่าอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการต่างๆ ในการประหยัดพลังงานไฟฟ้ากันบ้างเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
และจากพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถทรงช่วยเหลือพสกนิกรได้ในวงกว้าง ทำให้โครงการฝนหลวงและตำราดังกล่าวได้รับรางวัล Gold Medal with Mention พร้อมประกาศเกียรติคุณเทิดพระเกียรติใหเกับผลงานประดิษฐ์คิดค้นโครงการฝนหลวงที่งานบรัสเซลส์ ยูเรก้า 2001 ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545 คณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้ทุกวันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” ในฐานะของปวงราษฎร์ชาวไทยขอสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้
แหล่งข้อมูล :
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร https://www.royalrain.go.th
ใต้ปีกฝนหลวง https://www.youtube.com/@drraa_pr
#ฝนหลวง #วันพระบิดาแห่งฝนหลวง
“ผลการปฏิบัติที่ผ่านมาเกี่ยวกับฝนหลวง”
แหล่งข้อมูล :
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร https://www.royalrain.go.th
ใต้ปีกฝนหลวง https://www.youtube.com/@drraa_pr
#ฝนหลวง #วันพระบิดาแห่งฝนหลวง
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว